วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Lesson 10

บันทึกอนุทิน 


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood ) 
อาจารย์ผู้สอน  อ.จินตนา  สุขสำราญ                           
ประจำวันที่  20 ตุลาคม  2558
เรียนครั้งที่่  10  เวลา 13.30-17.30 น.                                   
กลุ่ม  102 วันอังคาร ห้อง 223


Knowledge (ความรู้)

นำเสนอบทความ

       เลขที่ 11  เรื่อง ทำอาหาร: กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย
       เลขที่ 12  เรื่อง เรียนรู้ อยู่รอด

นำเสนอของเล่น 3 ชิ้น

       1) ของเล่นที่เด็กทำได้เอง : เรือน้อยลอยไป
       2) ของเล่นที่เข้ามุมประสบการณ์ : จับคู่เสียง
       3) ของเล่นทดลอง : จรวดลูกโป่ง












1) ของเล่นที่เด็กทำได้เอง 


เรือน้อยลอยไป



วัสดุอุปกรณ์
  • ฟองน้ำ
  • ไม้ไอติม
  • สก๊อตเทป
  • กระดาษ
  • คัตเตอร์
  • กรรไกร
วิธีการทำ 

1) นำฟองน้ำ มาตัดให้เป็นรูปบ้าน
2) เจาะรูตรงกลาง ให้พอดี เสียบไม้ไอติมได้
3) นำสก็อตเทปและกระดาษสีมา ติดไม้ไอติม ทำเป็นใบเรือ
4) จากนั้นนำไปเรือที่ทำเสร็จแล้ว ไปติดกับฟองน้ำให้เรียบร้อย


วิธีการเล่น
     
              นำเรือไปลอยในกะละมังที่ใส่น้ำเตรียมไว้ หรืออาจจะไปนำเรือไปลอยในอ่างน้ำ หรือแม่น้ำก็ได้


หลักการทางวิทยาศาสตร์

               การที่วัตถุสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้  เนื่องจาก วัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ   และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมา    แรงนี้เรียกว่า   “แรงลอยตัวหรือแรงพยุง”    ซึ่งแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่    ยิ่งวัตถุมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่   หรือเข้าไปแทนที่น้ำได้มาก ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลง   และแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้น   วัตถุจึงลอยตัวในน้ำได้
               ดังนั้นหากแผ่วัตถุให้มีขนาดใหญ่และมีขอบโค้งขึ้นมาคล้ายเรือ  วัตถุนั้นก็จะลอยตัวได้ดี






2) ของเล่นที่เข้ามุมประสบการณ์






จับคู่เสียง





วัสดุอุปกรณ์

  • ขวดยาคูลท์และขวดนมเปรี้ยว
  • ข้าวสาร
  • ลูกปัด
  • กระดุม
  • ถั่วเขียว
  • สก๊อตเทป
  • กาว
  • กรรไกร

วิธีการทำ

1) นำขวดยาคูลท์และขวดนมเปรี้ยวใส่ข้าวสาร ลูกปัด กระดุม และถั่วเขียวให้ครบทุกขวด
2) ปิดฝาขวดยาคูลท์และนมเปรี้ยวให้เรียบร้อย
3) นำกระดาษสีมาตกแต่งให้สวยงาม


วิธีการเล่น
         
     นำขวดนมเปรี้ยวกับขวดยาคูลท์มาเขย่าแล้วนำเสียงที่เหมือนกันมาจับคู่กัน


หลักการทางวิทยาศาสตร์

      เสียงเดินทางเป็นเส้นตรง และเสียงเกิดการสั่นสะเทือนของวัตถุ ที่เสียงมีความแตกต่างกันก็เพราะ วัตถุข้างในมีขนาดที่ต่างกัน เด็กจะได้เรียนรู้ในเรื่องการเปรียบเทียบของเสียง และสามารถจับคู่เสียงได้ เป็นการพัฒนาด้านสติปัญญาอีกด้วย




3) ของเล่นทดลอง
จรวดลูกโป่ง





วัสดุปกรณ์ 
  • หลอด
  • ลูกโป่ง
  • เชือก
  • คลิปหนีบ
  • สก๊อตเทป

วิธีการทำ

1.นำเชือกร้อยเข้าไปในหลอด
2.เป่าลูกโป่ง
3.นำลูกโป่งที่เป่าไว้ มาติดกับหลอดโดยใช้สก๊อตเทปเป็นตัวเชื่อม
4.จากนั้น ก็ให้คนจับปลายเชือกไว้1คน และอีกคนเป็นคนปล่อยลูกโป่ง


วิธีการเล่น

        เป่าลูกโป่งตามที่ต้องการและใช้คลิปหนีบไว้ อาจจะเล่นกับเพื่อนโดยให้อีกคนถือเชือก อีกคนปล่อยลูกโป่ง หรือ อาจจะนำเชือกไปผูกกับหน้าต่างก็ได้


หลักการทางวิทยาศาสตร์
         ลมที่ถูกเป่าเข้าไปลูกโป่งจะกลายเป็นพลังงานที่ถูกสะสมเป็นพลังงานศักย์ไว้ และเมื่อเราปล่อยปลายลูกโป่ง พลังงานศักย์ที่ถูกสะสมไว้นั้นจะกลายเป็นพลังงานจลน์ที่ทำให้ลูกโป่งสามารถเคลื่อนที่ได้





Skill (ทักษะ)

- ทักษะการนำเสนองาน
- ทักษะการใช้ความคิดรวบยอด
- ทักษะการเชื่อมโยงความรู้
- ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม



Application ( การประยุกต์ใช้)

         นำสื่อที่ได้นำเสนอไปใช้ในการประดิษฐ์ของเล่นที่มีประโยชน์ให้แก่เด็ก เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น และเพื่อให้เด็กเกิดการค้นพบความรู้ด้วยตนเองด้วย



Technical Education (เทคนิคการสอน)

- ให้คำเสนอแนะเพื่อปรับปรุงในการทำสื่อ
- เชื่อมโยงหลักการทางวิทยาศาสตร์
- ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง



Evaluation (การประเมิน)

- Self : ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพ ร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ

- Friend :  ตั้งใจเรียน และช่วยกันทำกิจกรรมจนสำเร็จลุล่วง

- Teacher :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  มีเสียงสูง ต่ำ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และอธิบายหลักการในการทำของเล่นเพื่อให้เชื่อมโยงกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น