วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Lesson 6


บันทึกอนุทิน



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood ) 
อาจารย์ผู้สอน  อ.จินตนา  สุขสำราญ                           
ประจำวันที่  22 กันยายน  2558
เรียนครั้งที่่  6   เวลา 13.30-17.30 น.                                   
กลุ่ม  102 วันอังคาร ห้อง 223


Knowledge
( ความรู้ )


- กิจกรรมการนำเสนองานคู่



เรื่อง สัตว์ (Animal)

   
       เรียนเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตรวมไปถึงเรื่องความสัมพันธ์กัน การดูแลสิ่งมีชีวิต

     การจัดกิจกรรม อาจจะจัดผ่านกิจกรรมแบบบูรณาการ โดยการนำเปลือกไข่มาทำเป็นโมเสก เล่านิทานเกี่ยวกับสัตว์ อีกทั้งการทำกิจกรรมนี้สามารถเชื่อมโยงให้เข้ากับวทิยาศาสตร์ได้


เรื่อง พลังงานลม (Wind Energy)

   
        พลังงานลมเป็นพลังงานธรรมชาติ สะอาด บริสุทธิ์ ไม่มีวันหมดไปจากโลก ของเล่นที่ใช้พลังงานลม เช่น กังหันลม มีอุปกรณ์ดังนี้ กระดาษสี ไม้ไผ่ หลอดกาแฟ กาว วิธีการเล่น ให้เด็กถือแล้วให้วิ่งไปปะทะกับลม จากนั้นใบพัดก็จะหมุน ที่ใบผพัดหมุนนั้น เกิดจากอากาศที่เคลื่อนที่ไปกระทบกับวัตถุจึงทำให้กังหันลมหมุน


เรื่อง ดิน หิน ทราย
     จะอยู่ในขอบเขตเรื่องของธรรมชาติรอบตัว เรียนเกี่ยวกับลักษณะและความแตกต่างระหว่าง หิน ดิน ทราย รูปร่างของแต่ละชนิดของ หิน ดิน ทราย
     กิจกรรม อาจจะให้เด็กออกไปสำรวจ หิน ดิน ทราย ภายในโรงเรียน ในด้านนี้เด็กจะได้ทักษะการสังเกต ความแตกต่างของ หิน ดิน ทราย อีกทั้งยังได้เรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน 
     1.ด้านร่างกาย เด็กได้สัมผัสหิน ดิน ทราย
     2.ด้านอารมณ์ เด็กมีความสุขกับการทำกิจกรรม และการสำรวจ
     3.ด้านสังคม เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ
     4.ด้านสติปัญญา ได้จากการทดลองต่าง ๆ ในเรื่องของ หิน ดิน ทราย
ดิน เกิดจากซากพืช ซากสัตว์ที่ทับถมกัน 
หิน เกิดจาก การเกาะตัวของแร่ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป
ทราย มีลักษณะร่วนซุย ไม่เกาะตัวเป็นก้อน

เรื่อง พืช
   
     จะอยู่ในสาระธรรมชาติรอบตัวที่เด็กจะต้องเรียนรู้ เราสามารถจัดกิจกรรมเรื่องพืชผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะได้ โดยที่ครูแจกดอกไม้ให้กับเด็กๆได้เคลื่อนไหวไปตามเพลง เมื่อเพลงหยุดให้เด็กจับกลุ่มดอกไม้ชนิดเดียวกัน
   
     กิจกรรมที่เสริมประสบการณ์เกี่ยวกับเด็ก อาจจะให้เด็กปลูกผัก  เช่นถั่วงอก หรือพืชที่ขึ้นได้ง่าย ให้เด็กสังเกตการเจริญเติบโต เด็กได้ผึกทักษะการสังเกต การจำแนกเปรียบเทียบ และได้ทักษะทางคณิตศาสตร์อีกด้วย
   
     กิจกรรมแยกประเภทของเมล็ดพืช จะส่งเสริมให้เด็กเกิดการสังเกต การเปรียบเทียบ เกิดความคิดรวบยอด ขั้นตอนการทำกิจกรรมมีดังนี้
     1.นำเมล็ดพืชต่าง ๆ  ใส่ภาชนะ
     2.แยกประเภท
     3.แยกลักษณะที่แตกต่างจากเดิม เช่น สี ขนาด ชนิด
     4.อภิปรายแต่ละกลุ่มมีวิธีการแยกรายละเอียดอย่างไร
   
     กิจกรรมรู้จักดอกไม้
          วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้เด็ก ๆ รู้จักดอกไม้คือ  การนำมาแยกออกเป็นส่วน ๆ เลือกดอกโต ๆ กลีบดอกสีสันสด ๆ  มีส่วนประกอบต่าง ๆ ชัดเจน  เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ  เห็นภาพแจ่มชัดขึ้น   เช่น  ดอกพู่ระหง   ดอกชบา  ดอกกุหลาบ  ดอกบัวหลวง  แยกดอกออกทีละชั้น ๆ กลีบเลี้ยง  กลีบดอก  เกสรตัวผู้  เกสรตัวเมีย  อับเรณู  รังไข่





             
         พอเด็กๆโตขึ้นมาอีกนิด  เขาจะรู้จักสังเกตต่อไปว่า  แม้จะเป็นดอกไม้เหมือนกันก็จริง  แต่ถ้าต่างชนิดกันรายละเอียดย่อมแตกต่างกันออกไป  ดอกไม้บางอย่างมีช่วงชีวิตเพียงฤดูเดียวก็ตายจากไป ขณะที่บางดอกมีชีวิตยืนยาวหลายปี ให้ดอกไว้ชื่นชมหลายต่อหลายรุ่น
     


ครูควรสอนเด็กอย่างไร??

         ครูควรสอนโดยยึดพัฒนาการของเด็กเป็นหลัก และการสอนนั้นจะต้องสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก คือ เด็กจะเรียนรู้โดยการลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งเมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้แล้วก็ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือแสดงออกทางพฤติกรรม
เทคนิคการสอน (Technical Education)






Skill (ทักษะ)

- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการนำเสนองาน
- ทักษะการใช้ความคิดรวบยอด



Application ( การประยุกต์ใช้)

         นำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นหลักการการจัดการเรียนการสอนเรื่องวิทยาศาตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย โดยจัดให้สอดคล้องกับความต้องการและพัฒนาการของเด็ก และนำตัวอย่างที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมในเรื่องของวิทยาศาสตร์ให้น่าสนใจและเด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างง่ายๆ



Technical Education (เทคนิคการสอน)

- เทคนิคการใช้คำถาม เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด
- สอนให้ผู้เรียนนำเสนองานให้ถูกต้อง
- สอนเริ่มจากหลักการและนำมาสรุป



Evaluation (การประเมิน)

- Self : ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพ เข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้นและชัดเจนขึ้น มองเห็นภาพในเนื้อหาชัดเจนมากยิ่งขึ้น

- Friend :  ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม มีการช่วยเหลือกันระหว่างเรียน

- Teacher :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ บรรยายเนื้อหาให้เข้าใจได้ง่าย ยกตัวอย่างให้เข้าใจในเนื้อหามากขึ้น มีการใช้น้ำเสียงที่สูงต่ำกระตุ้นนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา และคอยชี้แนะกิจกรรมที่ใช้เป็นแนวการจัดประสบการณืให้เด็ก










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น