วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Lesson 8
บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood ) 
อาจารย์ผู้สอน  อ.จินตนา  สุขสำราญ                           
ประจำวันที่  6 กันยายน  2558
เรียนครั้งที่่  8   เวลา 13.30-17.30 น.                                   
กลุ่ม  102 วันอังคาร ห้อง 223



Knowledge ( ความรู้ )

1) นำเสนอวิจัย 
     - เลขที่ 4 เรื่อง การศึกษาผลของรูปแบบจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของ คุณชยุา  พยุวงค์

2) นำเสนอของเล่น
     ในหัวข้อ " แสง "



ชื่อของเล่น " แสงสีมหัศจรรย์ "




วัสดุอุปกรณ์
1.กระดาษแข็ง
2.กระดาษแก้ว
3. ห่วงสำหรับคล้อง
4.กาว
5.กรรไกร 


วิธีทำ
1. นำกระดาษแข็งมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2. เจาะกระดาษให้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 2 ชุด ชุดละ 3 ช่อง
3. ตัดกระดาษแก้วที่เตรียมมาทั้ง 3 สี ไปติดในช่องที่เตรียมไว้
4. เมื่อติดกระดาษแก้วเสร็จ นำมาเจาะรู 3 รู แล้วใช้ห่วงคล้องเข้าด้วยกัน
5. นำมาทดลองเพื่อสังเกตความแตกต่าง

วิธีเล่น 
นำมาทดลองโดยการจับแล้วยกขึ้นให้กระทบกับแสงที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่น แสงจากหลอดไฟ แสงจากไฟฉาย แสงจากดวงอาทิตย์เป็น จากนั้นก็สังเกตความแตกต่างของการเปลี่ยนสีที่เกิดขึ้น


หลักการทางวิทยาศาสตร์
เกิดจากการหักเหของแสงที่ผ่านแม่สีทั้ง 3  สี ที่อยู่ในรูปขอแสงรังสี จึงทำให้เราสามารถมองเห็นสีอีกสีที่เกิดขึ้น  การมองเห็นสีต่าง ๆ บนวัตถุเกิดจากการผสมของแสงสี เช่น แสงขาวอาจเกิดจากแสงเพียง 3 สีรวมกัน แสงทั้ง 3 สี ได้แก่ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน หรือเรียกว่าสีปฐมภูมิ และถ้านำแสงที่เกิดจากการผสมกันของสีปฐมภูมิ 2 สีมารวมกันจะเกิดเป็น สีทุติยภูมิ ซึ่งสีทุติยภูมิแต่ละสีจะมีความแตกต่างกันในระดับความเข้มสีและความสว่างของแสง เมื่อแสงสีใดสะท้อนมากที่สุดก็จะดูดกลืนแสงสีอื่นๆไว้หมด ทำให้เรามองเป็นอีกสีที่เกิดขึ้น


สรุป 
          การทำของเล่นจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้โดยการลงมือทำด้วยตนเอง เมื่อเด็กทำของเล่นด้วยตนเองเด็กจะเกิดการค้นพบ เกิดคำถามว่า ทำไม? ซึ่งสอดคล้องวิธีการเรียนรู้ของเด็ก เด็กก็จะได้สังเกตของเล่น เกิดการค้นพบและเปรียบเทียบตามลำดับ และถ้าให้เด็กทำของเล่นในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับของเดิมเด็กก็จะทำของเล่นออกมาได้ในลักษณะใกล้เคียงแบบเดิมได้



Skill (ทักษะ)

- ทักษะการนำเสนองาน
- ทักษะการใช้ความคิดรวบยอด
- ทักษะการเชื่อมโยงความรู้




Application ( การประยุกต์ใช้)

         นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำของเล่นที่ให้เด็กมีส่วนร่วมในการลลมือทำด้วย และของเล่นนั้นจะต้องเป็นของเล่นที่สามารถทำได้ง่ายๆ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และค้นพบความรู้ได้ด้วยตนเอง



Technical Education
(เทคนิคการสอน)


- สอนให้ผู้เรียนนำเสนองานให้ถูกต้อง
- สอนเริ่มจากหลักการและนำมาสรุป



Evaluation (การประเมิน)

- Self : ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพ นำเสนองานมีติดขัดบ้างในขณะที่ อาจารย์ถามคำถาม ต้องไปศึกษาหาความรู้เพิ่มขึ้นอีก เพื่อที่จะนำเสนองานได้อย่างชัดเจน

- Friend :  ตั้งใจเรียน นำเสนองานได้ดีและน่าสนใจ มีไอเดียที่แปลกใหม่ และมีการช่วยเหลือกันระหว่างเรียน


- Teacher :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  ช่วยเสริมในสิ่งที่นักศึกษาพูดไม่เข้าใจให้เข้าใจอย่างชัดเจน และมีการให้แง่คิดในการทำของเล่นชิ้นใหม่







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น