วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Lesson 10

บันทึกอนุทิน 


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood ) 
อาจารย์ผู้สอน  อ.จินตนา  สุขสำราญ                           
ประจำวันที่  20 ตุลาคม  2558
เรียนครั้งที่่  10  เวลา 13.30-17.30 น.                                   
กลุ่ม  102 วันอังคาร ห้อง 223


Knowledge (ความรู้)

นำเสนอบทความ

       เลขที่ 11  เรื่อง ทำอาหาร: กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย
       เลขที่ 12  เรื่อง เรียนรู้ อยู่รอด

นำเสนอของเล่น 3 ชิ้น

       1) ของเล่นที่เด็กทำได้เอง : เรือน้อยลอยไป
       2) ของเล่นที่เข้ามุมประสบการณ์ : จับคู่เสียง
       3) ของเล่นทดลอง : จรวดลูกโป่ง












1) ของเล่นที่เด็กทำได้เอง 


เรือน้อยลอยไป



วัสดุอุปกรณ์
  • ฟองน้ำ
  • ไม้ไอติม
  • สก๊อตเทป
  • กระดาษ
  • คัตเตอร์
  • กรรไกร
วิธีการทำ 

1) นำฟองน้ำ มาตัดให้เป็นรูปบ้าน
2) เจาะรูตรงกลาง ให้พอดี เสียบไม้ไอติมได้
3) นำสก็อตเทปและกระดาษสีมา ติดไม้ไอติม ทำเป็นใบเรือ
4) จากนั้นนำไปเรือที่ทำเสร็จแล้ว ไปติดกับฟองน้ำให้เรียบร้อย


วิธีการเล่น
     
              นำเรือไปลอยในกะละมังที่ใส่น้ำเตรียมไว้ หรืออาจจะไปนำเรือไปลอยในอ่างน้ำ หรือแม่น้ำก็ได้


หลักการทางวิทยาศาสตร์

               การที่วัตถุสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้  เนื่องจาก วัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ   และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมา    แรงนี้เรียกว่า   “แรงลอยตัวหรือแรงพยุง”    ซึ่งแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่    ยิ่งวัตถุมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่   หรือเข้าไปแทนที่น้ำได้มาก ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลง   และแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้น   วัตถุจึงลอยตัวในน้ำได้
               ดังนั้นหากแผ่วัตถุให้มีขนาดใหญ่และมีขอบโค้งขึ้นมาคล้ายเรือ  วัตถุนั้นก็จะลอยตัวได้ดี






2) ของเล่นที่เข้ามุมประสบการณ์






จับคู่เสียง





วัสดุอุปกรณ์

  • ขวดยาคูลท์และขวดนมเปรี้ยว
  • ข้าวสาร
  • ลูกปัด
  • กระดุม
  • ถั่วเขียว
  • สก๊อตเทป
  • กาว
  • กรรไกร

วิธีการทำ

1) นำขวดยาคูลท์และขวดนมเปรี้ยวใส่ข้าวสาร ลูกปัด กระดุม และถั่วเขียวให้ครบทุกขวด
2) ปิดฝาขวดยาคูลท์และนมเปรี้ยวให้เรียบร้อย
3) นำกระดาษสีมาตกแต่งให้สวยงาม


วิธีการเล่น
         
     นำขวดนมเปรี้ยวกับขวดยาคูลท์มาเขย่าแล้วนำเสียงที่เหมือนกันมาจับคู่กัน


หลักการทางวิทยาศาสตร์

      เสียงเดินทางเป็นเส้นตรง และเสียงเกิดการสั่นสะเทือนของวัตถุ ที่เสียงมีความแตกต่างกันก็เพราะ วัตถุข้างในมีขนาดที่ต่างกัน เด็กจะได้เรียนรู้ในเรื่องการเปรียบเทียบของเสียง และสามารถจับคู่เสียงได้ เป็นการพัฒนาด้านสติปัญญาอีกด้วย




3) ของเล่นทดลอง
จรวดลูกโป่ง





วัสดุปกรณ์ 
  • หลอด
  • ลูกโป่ง
  • เชือก
  • คลิปหนีบ
  • สก๊อตเทป

วิธีการทำ

1.นำเชือกร้อยเข้าไปในหลอด
2.เป่าลูกโป่ง
3.นำลูกโป่งที่เป่าไว้ มาติดกับหลอดโดยใช้สก๊อตเทปเป็นตัวเชื่อม
4.จากนั้น ก็ให้คนจับปลายเชือกไว้1คน และอีกคนเป็นคนปล่อยลูกโป่ง


วิธีการเล่น

        เป่าลูกโป่งตามที่ต้องการและใช้คลิปหนีบไว้ อาจจะเล่นกับเพื่อนโดยให้อีกคนถือเชือก อีกคนปล่อยลูกโป่ง หรือ อาจจะนำเชือกไปผูกกับหน้าต่างก็ได้


หลักการทางวิทยาศาสตร์
         ลมที่ถูกเป่าเข้าไปลูกโป่งจะกลายเป็นพลังงานที่ถูกสะสมเป็นพลังงานศักย์ไว้ และเมื่อเราปล่อยปลายลูกโป่ง พลังงานศักย์ที่ถูกสะสมไว้นั้นจะกลายเป็นพลังงานจลน์ที่ทำให้ลูกโป่งสามารถเคลื่อนที่ได้





Skill (ทักษะ)

- ทักษะการนำเสนองาน
- ทักษะการใช้ความคิดรวบยอด
- ทักษะการเชื่อมโยงความรู้
- ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม



Application ( การประยุกต์ใช้)

         นำสื่อที่ได้นำเสนอไปใช้ในการประดิษฐ์ของเล่นที่มีประโยชน์ให้แก่เด็ก เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น และเพื่อให้เด็กเกิดการค้นพบความรู้ด้วยตนเองด้วย



Technical Education (เทคนิคการสอน)

- ให้คำเสนอแนะเพื่อปรับปรุงในการทำสื่อ
- เชื่อมโยงหลักการทางวิทยาศาสตร์
- ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง



Evaluation (การประเมิน)

- Self : ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพ ร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ

- Friend :  ตั้งใจเรียน และช่วยกันทำกิจกรรมจนสำเร็จลุล่วง

- Teacher :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  มีเสียงสูง ต่ำ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และอธิบายหลักการในการทำของเล่นเพื่อให้เชื่อมโยงกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น









วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Lesson 9



บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood ) 
อาจารย์ผู้สอน  อ.จินตนา  สุขสำราญ                           
ประจำวันที่  13 ตุลาคม  2558
เรียนครั้งที่่  9  เวลา 13.30-17.30 น.                                   
กลุ่ม  102 วันอังคาร ห้อง 223


Knowledge  ( ความรู้ )

นำเสนอวิจัย
- เลขที่ 5 การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เลขที่ 6 การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

นำเสนอโทรทัศน์ครู 
- เลขที่ 7   แรงตึงผิว
- เลขที่ 8   สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์ 
- เลขที่่ 9  จุดประกายนักวิทยาศาสตร์

นำเสนอของเล่น 
- กลองแขก เรื่อง เสียง
- คานหนังสติ๊ก เรื่อง พลังงาน
- ปี่กระป๋อง เรื่อง เสียง





สาระที่เด็กควรเรียนรู้

1) เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เช่น ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ประสาทสัมผัส การเล่น สุขนิสัย คุณธรรมจริยธรรม มารยาทไทย
2) เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อม เช่น ครอบครัว ชุมชนสถานศึกษา วันสำคัญ อาชีพ
3) เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว เช่น สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต ปรากฏการณ์ของธรรมชาติ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
4) เรื่องเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก เช่น อาคาร เครื่องมือ เครื่องใช้ การติดต่อสื่อสาร การเดินทางการขนส่ง คณิต - วิทย์ ในชีวิตประจำวัน

แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม ตามสาระที่ควรเรียนรู้ แล้วเลือกเนื้อหาสาระที่จะสอนเด็กที่อยู่ในสาระที่เด็กควรเรียนรู้ แล้วทำเป็น Mind Mapping



สาระการเรียนรู้ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

เรื่อง ยานพาหนะ








เรื่อง ยานพาหนะ
          
         แบ่งหัวข้อได้ ดังนี้ คือ

1) ประเภทของยานพาหนะ
     - บก ได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน
     - น้ำ  ได้แก่ เรือ
     - อากาศ ได้แก่


 เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์


2) ลักษณะ
     



- บก  มี เครื่องยนต์ ล้อ 


     - น้ำ  มี โคงเรือเหล็ก ใบพัด
     - อากาศ ปีก ล้อ

3) การดูแล
    - ล้างทำความสะอาด
    - เช็คลมยาง/เช็คสภาพเครื่อง
    - เติมน้ำมัน / แก๊ส/ น้ำ
    - ชาร์ตแบตเตอรี่
    - ซ่อมแซม

4) ประโยชน์ / ข้อพึงระวัง
 
    ประโยชน์
     - อำนวยความสะดวกในการเดินทาง
     - ขนส่งสินค้า / ส่งของ

     ข้อพึงระวัง
     - รัดเข็มขัดนิรภัย
     - ใส่หมวกกันน็อค
     - ใส่เสื้อชูชีพ
     - ไม่ประมาท


หลังจากนั้น ก็ให้คิดของเล่น เรื่อง ยานพาหนะ โดยต้องคิดตามหัวข้อดังนี้
1) ของเล่นที่เด็กสามารถทำเองได้
2) ของเล่นที่เข้ามุมประสบการณ์
3) ของเล่นที่ทำการทดลอง






Skill (ทักษะ)

- ทักษะการนำเสนองาน
- ทักษะการใช้ความคิดรวบยอด
- ทักษะการเชื่อมโยงความรู้
- ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม



Application ( การประยุกต์ใช้)

         นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็ก โดยการจัดความรู้ที่จะนำไปใช้สอนอย่างเป็นลำดับขั้นตอนและสอนให้เด็กเข้าใจได้อย่างง่าย และไม่ซับซ้อน



Technical Education (เทคนิคการสอน)

- สอนให้รู้จักการสร้างความคิดรวบยอด
- สอนเริ่มจากหลักการและนำมาสรุป



Evaluation (การประเมิน)

- Self : ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพ ร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ

- Friend :
 ตั้งใจเรียน และช่วยกันทำกิจกรรมจนสำเร็จลุล่วง

- Teacher :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  มีเสียงสูง ต่ำ และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง







วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Lesson 8
บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood ) 
อาจารย์ผู้สอน  อ.จินตนา  สุขสำราญ                           
ประจำวันที่  6 กันยายน  2558
เรียนครั้งที่่  8   เวลา 13.30-17.30 น.                                   
กลุ่ม  102 วันอังคาร ห้อง 223



Knowledge ( ความรู้ )

1) นำเสนอวิจัย 
     - เลขที่ 4 เรื่อง การศึกษาผลของรูปแบบจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของ คุณชยุา  พยุวงค์

2) นำเสนอของเล่น
     ในหัวข้อ " แสง "



ชื่อของเล่น " แสงสีมหัศจรรย์ "




วัสดุอุปกรณ์
1.กระดาษแข็ง
2.กระดาษแก้ว
3. ห่วงสำหรับคล้อง
4.กาว
5.กรรไกร 


วิธีทำ
1. นำกระดาษแข็งมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2. เจาะกระดาษให้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 2 ชุด ชุดละ 3 ช่อง
3. ตัดกระดาษแก้วที่เตรียมมาทั้ง 3 สี ไปติดในช่องที่เตรียมไว้
4. เมื่อติดกระดาษแก้วเสร็จ นำมาเจาะรู 3 รู แล้วใช้ห่วงคล้องเข้าด้วยกัน
5. นำมาทดลองเพื่อสังเกตความแตกต่าง

วิธีเล่น 
นำมาทดลองโดยการจับแล้วยกขึ้นให้กระทบกับแสงที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่น แสงจากหลอดไฟ แสงจากไฟฉาย แสงจากดวงอาทิตย์เป็น จากนั้นก็สังเกตความแตกต่างของการเปลี่ยนสีที่เกิดขึ้น


หลักการทางวิทยาศาสตร์
เกิดจากการหักเหของแสงที่ผ่านแม่สีทั้ง 3  สี ที่อยู่ในรูปขอแสงรังสี จึงทำให้เราสามารถมองเห็นสีอีกสีที่เกิดขึ้น  การมองเห็นสีต่าง ๆ บนวัตถุเกิดจากการผสมของแสงสี เช่น แสงขาวอาจเกิดจากแสงเพียง 3 สีรวมกัน แสงทั้ง 3 สี ได้แก่ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน หรือเรียกว่าสีปฐมภูมิ และถ้านำแสงที่เกิดจากการผสมกันของสีปฐมภูมิ 2 สีมารวมกันจะเกิดเป็น สีทุติยภูมิ ซึ่งสีทุติยภูมิแต่ละสีจะมีความแตกต่างกันในระดับความเข้มสีและความสว่างของแสง เมื่อแสงสีใดสะท้อนมากที่สุดก็จะดูดกลืนแสงสีอื่นๆไว้หมด ทำให้เรามองเป็นอีกสีที่เกิดขึ้น


สรุป 
          การทำของเล่นจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้โดยการลงมือทำด้วยตนเอง เมื่อเด็กทำของเล่นด้วยตนเองเด็กจะเกิดการค้นพบ เกิดคำถามว่า ทำไม? ซึ่งสอดคล้องวิธีการเรียนรู้ของเด็ก เด็กก็จะได้สังเกตของเล่น เกิดการค้นพบและเปรียบเทียบตามลำดับ และถ้าให้เด็กทำของเล่นในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับของเดิมเด็กก็จะทำของเล่นออกมาได้ในลักษณะใกล้เคียงแบบเดิมได้



Skill (ทักษะ)

- ทักษะการนำเสนองาน
- ทักษะการใช้ความคิดรวบยอด
- ทักษะการเชื่อมโยงความรู้




Application ( การประยุกต์ใช้)

         นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำของเล่นที่ให้เด็กมีส่วนร่วมในการลลมือทำด้วย และของเล่นนั้นจะต้องเป็นของเล่นที่สามารถทำได้ง่ายๆ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และค้นพบความรู้ได้ด้วยตนเอง



Technical Education
(เทคนิคการสอน)


- สอนให้ผู้เรียนนำเสนองานให้ถูกต้อง
- สอนเริ่มจากหลักการและนำมาสรุป



Evaluation (การประเมิน)

- Self : ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพ นำเสนองานมีติดขัดบ้างในขณะที่ อาจารย์ถามคำถาม ต้องไปศึกษาหาความรู้เพิ่มขึ้นอีก เพื่อที่จะนำเสนองานได้อย่างชัดเจน

- Friend :  ตั้งใจเรียน นำเสนองานได้ดีและน่าสนใจ มีไอเดียที่แปลกใหม่ และมีการช่วยเหลือกันระหว่างเรียน


- Teacher :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  ช่วยเสริมในสิ่งที่นักศึกษาพูดไม่เข้าใจให้เข้าใจอย่างชัดเจน และมีการให้แง่คิดในการทำของเล่นชิ้นใหม่







วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Lesson 7
บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood ) 
อาจารย์ผู้สอน  อ.จินตนา  สุขสำราญ                           
ประจำวันที่  29 กันยายน  2558
เรียนครั้งที่่  7   เวลา 13.30-17.30 น.                                   
กลุ่ม  102 วันอังคาร ห้อง 223









** ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์แห่งการสอบกลางภาค!!!**
ประจำปีการศึกษา 2558



Lesson 6


บันทึกอนุทิน



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood ) 
อาจารย์ผู้สอน  อ.จินตนา  สุขสำราญ                           
ประจำวันที่  22 กันยายน  2558
เรียนครั้งที่่  6   เวลา 13.30-17.30 น.                                   
กลุ่ม  102 วันอังคาร ห้อง 223


Knowledge
( ความรู้ )


- กิจกรรมการนำเสนองานคู่



เรื่อง สัตว์ (Animal)

   
       เรียนเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตรวมไปถึงเรื่องความสัมพันธ์กัน การดูแลสิ่งมีชีวิต

     การจัดกิจกรรม อาจจะจัดผ่านกิจกรรมแบบบูรณาการ โดยการนำเปลือกไข่มาทำเป็นโมเสก เล่านิทานเกี่ยวกับสัตว์ อีกทั้งการทำกิจกรรมนี้สามารถเชื่อมโยงให้เข้ากับวทิยาศาสตร์ได้


เรื่อง พลังงานลม (Wind Energy)

   
        พลังงานลมเป็นพลังงานธรรมชาติ สะอาด บริสุทธิ์ ไม่มีวันหมดไปจากโลก ของเล่นที่ใช้พลังงานลม เช่น กังหันลม มีอุปกรณ์ดังนี้ กระดาษสี ไม้ไผ่ หลอดกาแฟ กาว วิธีการเล่น ให้เด็กถือแล้วให้วิ่งไปปะทะกับลม จากนั้นใบพัดก็จะหมุน ที่ใบผพัดหมุนนั้น เกิดจากอากาศที่เคลื่อนที่ไปกระทบกับวัตถุจึงทำให้กังหันลมหมุน


เรื่อง ดิน หิน ทราย
     จะอยู่ในขอบเขตเรื่องของธรรมชาติรอบตัว เรียนเกี่ยวกับลักษณะและความแตกต่างระหว่าง หิน ดิน ทราย รูปร่างของแต่ละชนิดของ หิน ดิน ทราย
     กิจกรรม อาจจะให้เด็กออกไปสำรวจ หิน ดิน ทราย ภายในโรงเรียน ในด้านนี้เด็กจะได้ทักษะการสังเกต ความแตกต่างของ หิน ดิน ทราย อีกทั้งยังได้เรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน 
     1.ด้านร่างกาย เด็กได้สัมผัสหิน ดิน ทราย
     2.ด้านอารมณ์ เด็กมีความสุขกับการทำกิจกรรม และการสำรวจ
     3.ด้านสังคม เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ
     4.ด้านสติปัญญา ได้จากการทดลองต่าง ๆ ในเรื่องของ หิน ดิน ทราย
ดิน เกิดจากซากพืช ซากสัตว์ที่ทับถมกัน 
หิน เกิดจาก การเกาะตัวของแร่ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป
ทราย มีลักษณะร่วนซุย ไม่เกาะตัวเป็นก้อน

เรื่อง พืช
   
     จะอยู่ในสาระธรรมชาติรอบตัวที่เด็กจะต้องเรียนรู้ เราสามารถจัดกิจกรรมเรื่องพืชผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะได้ โดยที่ครูแจกดอกไม้ให้กับเด็กๆได้เคลื่อนไหวไปตามเพลง เมื่อเพลงหยุดให้เด็กจับกลุ่มดอกไม้ชนิดเดียวกัน
   
     กิจกรรมที่เสริมประสบการณ์เกี่ยวกับเด็ก อาจจะให้เด็กปลูกผัก  เช่นถั่วงอก หรือพืชที่ขึ้นได้ง่าย ให้เด็กสังเกตการเจริญเติบโต เด็กได้ผึกทักษะการสังเกต การจำแนกเปรียบเทียบ และได้ทักษะทางคณิตศาสตร์อีกด้วย
   
     กิจกรรมแยกประเภทของเมล็ดพืช จะส่งเสริมให้เด็กเกิดการสังเกต การเปรียบเทียบ เกิดความคิดรวบยอด ขั้นตอนการทำกิจกรรมมีดังนี้
     1.นำเมล็ดพืชต่าง ๆ  ใส่ภาชนะ
     2.แยกประเภท
     3.แยกลักษณะที่แตกต่างจากเดิม เช่น สี ขนาด ชนิด
     4.อภิปรายแต่ละกลุ่มมีวิธีการแยกรายละเอียดอย่างไร
   
     กิจกรรมรู้จักดอกไม้
          วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้เด็ก ๆ รู้จักดอกไม้คือ  การนำมาแยกออกเป็นส่วน ๆ เลือกดอกโต ๆ กลีบดอกสีสันสด ๆ  มีส่วนประกอบต่าง ๆ ชัดเจน  เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ  เห็นภาพแจ่มชัดขึ้น   เช่น  ดอกพู่ระหง   ดอกชบา  ดอกกุหลาบ  ดอกบัวหลวง  แยกดอกออกทีละชั้น ๆ กลีบเลี้ยง  กลีบดอก  เกสรตัวผู้  เกสรตัวเมีย  อับเรณู  รังไข่





             
         พอเด็กๆโตขึ้นมาอีกนิด  เขาจะรู้จักสังเกตต่อไปว่า  แม้จะเป็นดอกไม้เหมือนกันก็จริง  แต่ถ้าต่างชนิดกันรายละเอียดย่อมแตกต่างกันออกไป  ดอกไม้บางอย่างมีช่วงชีวิตเพียงฤดูเดียวก็ตายจากไป ขณะที่บางดอกมีชีวิตยืนยาวหลายปี ให้ดอกไว้ชื่นชมหลายต่อหลายรุ่น
     


ครูควรสอนเด็กอย่างไร??

         ครูควรสอนโดยยึดพัฒนาการของเด็กเป็นหลัก และการสอนนั้นจะต้องสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก คือ เด็กจะเรียนรู้โดยการลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งเมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้แล้วก็ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือแสดงออกทางพฤติกรรม
เทคนิคการสอน (Technical Education)






Skill (ทักษะ)

- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการนำเสนองาน
- ทักษะการใช้ความคิดรวบยอด



Application ( การประยุกต์ใช้)

         นำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นหลักการการจัดการเรียนการสอนเรื่องวิทยาศาตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย โดยจัดให้สอดคล้องกับความต้องการและพัฒนาการของเด็ก และนำตัวอย่างที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมในเรื่องของวิทยาศาสตร์ให้น่าสนใจและเด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างง่ายๆ



Technical Education (เทคนิคการสอน)

- เทคนิคการใช้คำถาม เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด
- สอนให้ผู้เรียนนำเสนองานให้ถูกต้อง
- สอนเริ่มจากหลักการและนำมาสรุป



Evaluation (การประเมิน)

- Self : ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพ เข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้นและชัดเจนขึ้น มองเห็นภาพในเนื้อหาชัดเจนมากยิ่งขึ้น

- Friend :  ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม มีการช่วยเหลือกันระหว่างเรียน

- Teacher :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ บรรยายเนื้อหาให้เข้าใจได้ง่าย ยกตัวอย่างให้เข้าใจในเนื้อหามากขึ้น มีการใช้น้ำเสียงที่สูงต่ำกระตุ้นนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา และคอยชี้แนะกิจกรรมที่ใช้เป็นแนวการจัดประสบการณืให้เด็ก