วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปวิจัย


ชื่อวิจัย : ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย : ลำดวล  ปั่นสันเทียะ
มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ
ปี : 2545




ความสำคัญของการวิจัย


1. เป็นการเผยเพ่ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบบโครงการให้กับครูผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย

2. เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบกาารณ์เพื่อเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญตามแนวทางการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
3. เป็นการส่งเสริมการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



ความมุ่งหมายของการวิจัย


       เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1. เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
2. เมื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการก่อนทอดลองและหลังทดลอง


ประชากรที่ใช้ในการทดลอง
       
        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏนครราชสีมา อำเภอ เมื่อง  จังหวัด นครราชสีมา จำนวน 15 คน




ตัวแปรที่ศึกษา


ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดประสบการณ์แบบโครงการ

ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์



นิยามศัพท์เฉพาะ


1.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏนครราชสีมา อำเภอ เมื่อง  จังหวัด นครราชสีมา 

2.ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถที่เด็กปฐมวัยแสดงด้วยตนเองในการแสวงความรู้โดยใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ทั้ 6 ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการการงความเห็น ทักษะกระบวนการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความคิดเห็น และทักษะการพยากรณ์ สามารถวัดได้จากแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมา
     2.1 ทักษะการสังเกต ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ็นและผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ้งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้โดยไม่ใส่ความคิดเหน็ไรลงไป
     2.2ทักษะการจำแนกประเภท มีอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความต่างและความสัมพันธ์โดยใช้เกณฑ์ที่ใช้ประสาทสัมผัสส่วนไดส่วนหนึ่งของร่างกาย
     2.3ทักษะการวัด ได้แก่ สายวัด ไม่บรรทัด และเครื่องมืออื่นๆ วัดปริมาณสิ่งของที่ต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง

     2.4ทักษะการลงความคิดเห็น หมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการทดลองและการทำกิจกรรมต่างๆที่ไปสัมพันธ์ความรู้และประสบการณ์เดิมเพื่อลงข้อมูลสรุปหรืออธิบาย ปรากฏการณ์นั้นๆ
     2.5ทักษะการสื่อสารความหมาย หมายถึง การทดลองหรือการทำกิจกรรมอื่ๆมาจัดทำและเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างถูกต้องโดยการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาจัดให้มีความสัมพันธ์ให้ง่ายต่อการแปลความหมาย ในรูปแบบตาราง แผนภูมิ หนังสือและนิทรรศการ โดยทั้งหมดมีลักษณะตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อนสามารถสือความหมายให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
     2.6ทักษะการพยากรณ์ หมายถึง ความสามารถในการทำนายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นส่วนหน้า โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือข้อมูลจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ซ้ำๆ จากความรู้ที่มีมาก่อน



เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย


1.แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์

2.แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ



ระยะเวลาการทดลอง


       การทดลองครั้งนี้ทำในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 ใช้เวลาในการทดลอง สัปดาห์ละ 4 วัน รวมทั้งหมด 8 สัปดาห์ เวลาในการทำกิจกรรมหรือจัดประสบการน์ในแต่ระวัยยึดยุ่นตามลักษณะกิจกรรมและความสนใจของเด็กโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบโครงการเข้ามาจัดในกิจกรรมวงกลม




สรุปการวิจัย


          ภายหลังการสังเกตการส่งเสริมทักษะของการสังเกตของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมแบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เด็กได้มีทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการการงความเห็น ทักษะกระบวนการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความคิดเห็น และทักษะการพยากรณ์ สามารถวัดได้จากแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์





ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้















สรุปขั้นตอนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ


















Lesson 2


บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

(Science Experiences Management for Early Childhood ) 
 อาจารย์ผู้สอน  อ.จินตนา  สุขสำราญ                           
ประจำวันที่  25 สิงหาคม 2558
เรียนครั้งที่่ 2   เวลา 13.30-17.30 น.                                   
กลุ่ม  102 วันอังคาร ห้อง 223




Knowledge (ความรู้)

พัฒนาการทางสติปัญญา  (Cognitive development)          
         หมายถึง  ความเจริญงอกงามด้านความสามารถ ทางภาษา และการคิดของแต่ละบุคคล

พัฒนาขึ้นมาจากการมีปฏิสัมพันธ์  interaction  กับสิ่งแวดล้อม
          - เริ่มต้นตั้งแต่เกิดผลของการมีปฏิสัมพันธ์จะทำให้เด็กรู้จักตนเอง (self)  เพราะตอนเเรกเด็กจะยังไม่สามารถแยก "ตน" ออกจากสิ่งแวดล้อมได้   
          - การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม  เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาและตลอดชีวิตทั้งนี้เพื่อให้เกิดการสมดุล  (equilibrium)   
          - การมีปฏิสัมพัธ์กับสิ่งแวดล้อมจะปรับปรุงเปลี่ยนเเปลงคลอดเวลาเพื่อให้เกิดการสมดุลระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม


ระบวนการปฏิสัมพันธ์  ( interaction)  ประกอบด้วย  2  กระบวนการ

1)การดูดซึม  (assimilation) 
    fitting a new experience into an exisiting mantal structure (schema)
    - เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่เข้าอยู่ในโครงสร้างสติปัญญา      
2)กระบวนการโครงสร้าง (accommodation)
    revising an exisiting schema because of new experienee.
    - การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของเชาว์ปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่
    - การปรับตัวเข้าสู้สภาวะสมดุลระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม
    Equflibrium seeking cognitive stability through assimilation and accomodation.
    - การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่
    - การปรับโครงสร้างเป็นการปรับโครงสร้างความคิดเดิมให้สอดคล้องให้เหมาะสมกับแระสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ
    - การปรับแนวคิดและพฤติกรรมจะทำให้เกิดภาวะสมดุล

สรุป
    สติปัญญาจึงเกิดจากการปรับความคิดและพฤติกรรมจนกว่าสู่สภาวะสมดุล




Skill
(ทักษะ)

- การตอบคำถาม
- การคิดวิเคราะห์




Application (การประยุกต์ใช้)
     
        นำเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาไปใช้ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กแต่ละคน และหาวิธีส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการทางสติปัญญาให้เป็นไปตามวัย



Technical Education (เทคนิคการสอน)

- เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ใช้คำถามในการกระตุ้นผู้เรียน
- เทคนิคการใช้คำถาม



Evaluation (การประเมิน)  

Self: เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ช่วยตอบคำถามที่อาจารย์ถาม จดและทำความเข้าใจในสิ่งอาจารย์สอน

Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม

Teacher : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เวลาสอนก็จะสอนแบบละเอียด คอยกระตุ้นให้นักศึกษากระตือรือล้นในการเรียน และใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล สูง ต่ำ ตามจังหวะของการสอน ส่งเสริมให้นักศึกษาหาคำตอบด้วยตนเอง







วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ


เรื่อง :  สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ (Natural Phenomena)
ผู้เขียน : อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์




   




         ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (Natural phenomena) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์ไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้น แต่มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์โดยตรง เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า รุ้งกินน้ำ กลางวัน กลางคืน ภาวะโลกร้อน รวมไปถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบางอย่างที่นานๆครั้งจะปรากฎให้เห็น เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กควรเรียนรู้ในสาระธรรมชาติรอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 เพื่อฝึกทักษะการคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยผ่านกิจกรรมการทดลอง การปฏิบัติจริงจากสถานการณ์จริง หรือสถานการณ์ที่สร้างขึ้นทั้งภายในห้องเรียน และขณะอยู่กับพ่อแม่ที่บ้าน


การสอนเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยอย่างไร?
     
         การเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติช่วยฝึกฝนทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกเปรียบเทียบ ทักษะการรับฟัง ทักษะความตั้งใจ ทักษะการ
ค้นพบ ทักษะการสรุปข้อมูล ทักษะการอธิบาย และทักษะการปฏิบัติ ทำให้เด็กได้พัฒนาและสร้างความคิดรวบยอดในสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ เป็นคนที่มีความสามารถในการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ไม่เชื่อสิ่งใดง่ายๆ ทุกอย่างที่ต้องการรู้จะเกิดจากการลงมือกระทำและพิสูจน์ให้เห็นในเชิงประจักษ์  ทำให้เด็กมีเหตุผลในการกระทำสิ่งต่างๆ และสามารถใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาทั้งในส่วนตนและส่วนรวมได้ เช่น การจัดกิจกรรมที่ทำให้เด็กมีความเข้าใจและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเกิดรุ้งกินน้ำจากการเป่าฟองสบู่ การเกิดฝนจากการต้มน้ำ การต้มไข่ การซักผ้าและนำไปผึ่งแดด การเกิดกลางวัน กลางคืนจากการส่องแสงจากไฟฉายให้ไปกระทบกับพื้นผิวของลูกบอล เป็นต้น ซึ่งลักษณะการทดลองการเกิดปรากฏการณ์ง่ายๆดังกล่าว ทำให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจและมีความคิดรวบยอดได้ และที่สำคัญเป็นการเรียนรู้ที่ผ่านประสบการณ์ตรง เด็กได้ลงมือปฏิบัติและค้นพบองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง





Lesson 1



บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

(Science Experiences Management for Early Childhood ) 
 อาจารย์ผู้สอน  อ.จินตนา  สุขสำราญ                           
ประจำวันที่  11 สิงหาคม 2558
เรียนครั้งที่่ 1   เวลา 13.30-17.30 น.                                   
กลุ่ม  102 วันอังคาร ห้อง 223





        สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียน อาจารย์แจก Course Sallybus และได้ชี้แจงแนวการสอน ความสำคัญของรายวิชา และเนื้อหาสาระที่ต้องได้เรียนในภาคเรียนนี้ และแจ้งเกณฑ์การให้คะเเนน พร้อมกับทบทวนความรู้เดิมด้วย






Knowledge
( ความรู้)


 **Learning Outcomes**
1.มีคุณธรรม จริยธรรม
2.มีความรู้
3.มีทักษะด้านทางปัญญา
4.มีทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
5.มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี
6.มีทักษะการจัดการเรียนรู้ 


การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แบ่งได้ 3 คำ คือ

1. เด็กปฐมวัย
         พัฒนาการ คือ ความสามารถที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องไปตามลำดับขั้นตอนโดยมีอายุเป็นตัวกำกับ

ทำไมจึงต้องทราบพัฒนาการของเด็ก??
         เพราะ จะทำให้เราสามารถจัดประสบการณ์ได้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

พัฒนาการ มี 4 ด้าน (แต่ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์จะเน้นในด้าน สติปัญญา)
1. ด้านร่างกาย
2. ด้านอารมณ์-จิตใจ
3. ด้านสังคม
4. ด้านสติปัญญา (สำคัญที่สุด) แบ่งเป็น 2 ด้าน
    - ภาษา
    - การคิด มี 2 ประเภท คือ 
       * สร้างสรรค์
       * เชิงเหตุผล คือ คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์

วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
  - การเรียนรู้ คือ การที่เด็กมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม
  - วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
            **เรียนรู้ได้โดยการลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ**
                                      ตา -  ดู
                                      หู  - ฟัง
                                      จมูก - ดมกลิ่น
                                      ลิ้น - ชิมรส
                                      กาย - สัมผัส

2. การจัดประสบการณ์
- หลักการจัดประสบการณ์
- เทคนิคการจัดประสบการณ์
- กระบวนการจัดประสบการณ์
- ทฤษฎีการจัดประสบการณ์
- สื่อและสภาพแวดล้อมสนับสนุนการจัดประสบการณ์
- การประเมินผล


3. วิทยาศาสตร์
     - สาระสำคัญ
       1) เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
       2) เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
       3) ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
       4) สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

     - ทักษะทางวิทยาศาสตร์
        1) การสังเกต
        2) การจำแนกประเภท
        3) การลงความคิดเห็นจากข้อมูล
        4) การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
        5) การคำนวณ



Skill (ทักษะ)

- การคิดวิเคราะห์
- การตอบคำถาม
Application  (การประยุกต์ใช้)
               นำแนวทางที่อาจารย์ให้ในวันนี้ไปใช้ในการเรียนรู้ในรายวิชานี้ให้เกิดความเข้าใจ และสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตได้



Technical Education (เทคนิคการสอน)

- เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ใช้คำถามในการกระตุ้นผู้เรียน
- เทคนิคการใช้คำถาม



Evaluation (การประเมิน)  

Self: เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและจดในสิ่งอาจารย์สอน
Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม
Teacher : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เวลาสอนก็จะสอนแบบละเอียด คอยกระตุ้นให้นักศึกษากระตือรือล้นในการเรียน และใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล สูง ต่ำ ตามจังหวะของการสอน