วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ


เรื่อง :  สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ (Natural Phenomena)
ผู้เขียน : อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์




   




         ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (Natural phenomena) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์ไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้น แต่มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์โดยตรง เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า รุ้งกินน้ำ กลางวัน กลางคืน ภาวะโลกร้อน รวมไปถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบางอย่างที่นานๆครั้งจะปรากฎให้เห็น เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กควรเรียนรู้ในสาระธรรมชาติรอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 เพื่อฝึกทักษะการคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยผ่านกิจกรรมการทดลอง การปฏิบัติจริงจากสถานการณ์จริง หรือสถานการณ์ที่สร้างขึ้นทั้งภายในห้องเรียน และขณะอยู่กับพ่อแม่ที่บ้าน


การสอนเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยอย่างไร?
     
         การเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติช่วยฝึกฝนทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกเปรียบเทียบ ทักษะการรับฟัง ทักษะความตั้งใจ ทักษะการ
ค้นพบ ทักษะการสรุปข้อมูล ทักษะการอธิบาย และทักษะการปฏิบัติ ทำให้เด็กได้พัฒนาและสร้างความคิดรวบยอดในสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ เป็นคนที่มีความสามารถในการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ไม่เชื่อสิ่งใดง่ายๆ ทุกอย่างที่ต้องการรู้จะเกิดจากการลงมือกระทำและพิสูจน์ให้เห็นในเชิงประจักษ์  ทำให้เด็กมีเหตุผลในการกระทำสิ่งต่างๆ และสามารถใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาทั้งในส่วนตนและส่วนรวมได้ เช่น การจัดกิจกรรมที่ทำให้เด็กมีความเข้าใจและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเกิดรุ้งกินน้ำจากการเป่าฟองสบู่ การเกิดฝนจากการต้มน้ำ การต้มไข่ การซักผ้าและนำไปผึ่งแดด การเกิดกลางวัน กลางคืนจากการส่องแสงจากไฟฉายให้ไปกระทบกับพื้นผิวของลูกบอล เป็นต้น ซึ่งลักษณะการทดลองการเกิดปรากฏการณ์ง่ายๆดังกล่าว ทำให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจและมีความคิดรวบยอดได้ และที่สำคัญเป็นการเรียนรู้ที่ผ่านประสบการณ์ตรง เด็กได้ลงมือปฏิบัติและค้นพบองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น