วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558
(National Science and Technology Fair)
ณ ชาเลนเจอร์อิมแพ็ค เมืองทองธานี




    knowledge  ( ความรู้ที่ได้รับ)
    ของเล่นกับพัฒนาการเด็กไทย 
             ของเล่นไม่ใช่เพียงแค่เรื่องเล่น ๆ “ของ เล่น” นับเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสร้างทักษะและพัฒนาร่างกาย สมองส่วนต่าง ๆ ช่วยเสริมสร้างจินตนาการของเด็ก และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองกับเด็ก ๆนอกจากการ เล่นของเล่นจะให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยให้เด็กอารมณ์ดีเบิกบานแล้ว การเล่นของเล่นยังช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ สร้างจินตนาการ และฝึกทักษะในการใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็ก ๆ ในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ การเล่นและของเล่นสำหรับเด็กใน ช่วงปฐมวัยมีความหมายและความสำคัญต่อชีวิตเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการเล่นกับผู้คนหรือของเล่น ถือเป็นรากฐานที่สะสมเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นในช่วงวัยต่อ ๆ มา

    ความคิดสร้างสรรค์จากการเล่น (Creative and Play)
              ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่มีอยู่ภายในตัวบุคคลไม่ใช่เรื่องไกลตัวหรือเกินความสามารถที่จะมีได้แต่เป็นสิ่งที่ซ่อนตัวอยู่ในทักษะการใช้ชีวิตประจำวันโดยเฉพาะความอยากรู้และการลงมือกระทำเช่นการเล่นของเล่นสามารถสร้าจินตนาการให้กับเด็ก ความคิดสร้างสรรค์ของคนเรามีหลายระดับ เช่น
    1. การใช้จินตนาการเพื่อถ่ายทอดหรือแสดงความคิดความรู้สึกของตน เช่น การวาดภาพ
    2. การประดิษฐ์และสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์หรือสิ่งที่กำหนดให้
    3. การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกิดนวัตกรรมที่ต้องอาศัยการคิดอย่างเป็นระบบ
    4. การสร้างสรรค์หลักการแนวคิดใหม่ๆที่ส่งผลต่อการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆต้องใช้ทักษะการคิดที่เป็นระบบและซับซ้อนมากขึ้นเช่นระบบการสื่อสารการบินหรือการเดินทางไปสู่อวกาศ

    เล่นแล้วได้อะไร? (ฺBuilding Skills with Toys)
               การเล่นมีประโยชน์ต่อพัฒนาการทุกๆด้าน ซึ่งทำให้เด็กพัฒนาความสามารถด้านต่างๆของชีวิต ได้แก่
    1. ด้านร่างกาย การเล่นเป็นการออกกำลังกายแบบหนึ่ง ซึ่งจะเสริมสร้างความเเข็งแรงและ พัฒนากล้ามเนื้อ
    2. ด้านอารมณ์และจิตใจ การเล่นทำให้เด็กเกิดจินตนาการ รู้จักคิดและแก้ปัญหา เกิดความคิดสร้างสรรค์ความสนุกสนานและผ่อนคลาย
    3. ด้านสังคม การเล่นกับผู้อื่น จะทำให้เด็กเรียนรู้ผู้คนรอบข้าง รู้จักการแบ่งปัน รู้จักแพ้ รู้จักชนะ ซึ่งจะทำให้เด็กรู้จักปรับตัวที่จะอยู่ในสังคม
    4. ด้านภาษา เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะเล่นกับผู้อื่น ความสามารถด้านภาษาและการสื่อสารจะถูกพัฒนา
    5. ด้านการเรียนรู้ การเล่นแต่ละแบบจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในทักษะที่แตกต่างกัน ของเล่นบางอย่างฝึกความสามารถด้านการเคลื่อนไหว ในทางกลับกันบางอย่างอาจฝึกในเรื่องของภาษา


              
    จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ ....สนุกคิดกับของเล่นวิทยาศาสตร์


    หมุนพาเพลิน  (Spin for fun) 

       ลูกข่างหมุนและตั้งได้อย่างไร? ( What Keeps Spinning Tops Upright?)
            ปั่นลูกข่างด้วยมือ หรือ ใช้เชือกเหวี่ยงลูกข่างหมุนที่แกนกลางขนาดเล็ก ตัวลูกข่างจึงมีน้ำหนักมากทำให้มีความเฉื่อย จึงหมุนได้นานและขณะหมุนเกิดแรงที่ตั้งฉากกับทิศทางการหมุนจึงทำให้ลูกข่างทรงตัวอยู่ได้










    ดึ๋งดั๋งพลังสปริง (Bouncy spring)
         
            นกบินและปลาว่ายน้ำเคลื่อนที่ลงมาได้อย่างไรแรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่โลกดึงดูดวัตถุด้วยความเร่งเท่ากัน(9.8 เมตร/วินาที)นกบินและปลาว่ายน้ำตกลงมาแต่มีแรงเสียดทานระหว่างเส้นเอ็นกับปากนกและปลาทำให้ตกช้าลง จึงคล้ายกับนกยินแบะปลาว่ายน้ำหนอนดินและหนูกะลาวิ่งได้อย่างไรเมื่อดึงเชือกหนอนดินและหนูกะลาหนังยางจะบิดเป็นเกลียวทำให้หนอนและหนูวิ่งไปข้างหน้าเมื่อผ่อนเชือกหนังอย่างจะคลายตัวแล้ววิ่งถอยหลังการบิดเป็นเกลียวของหนังยางเป็นหลักการเดียวกันของการทำงานของเกี่ยวสปิงคือเมื่อสปิงหดตัวจะเก็บพลังงานไว้เรียกว่า พลังงานศักย์ เมื่อสปิงขายตัวจากเปลี่ยนเป็นพลังงานในการเคลื่อนที่ที่เรียกว่า พลังงานจลน์










    แรงยกจอมพลัง(Powerful force)
           
               คอปเตอร์ไม้ไผ่และกำหมุน ลอยได้อย่างไรใบพัดของคอปเตอร์ไม้ไผ่แล้วกำหมุนบินออกแบบ
    เป็นเกลียวอีกด้านเชิดขึ้นอีกด้านจะเชิดลงคล้ายเกลียวเมื่อใบพัดหมุนใบทั้งสองด้านจัดการอากาศลงเกิดแรงยกตัว เหมือนกับการยุบตัวของใบพัดเฮลิคอปตอร์เครื่องบินและว่าวที่ออกแบบให้ปีกเอียง


      



    อุทยานแห่งการเรียนรู้ ( TK Park )







































    Lesson 15
    บันทึกอนุทิน


    วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
    (Science Experiences Management for Early Childhood ) 
    อาจารย์ผู้สอน  อ.จินตนา  สุขสำราญ                           
    ประจำวันที่  24 พฤศจิกายน  2558
    เรียนครั้งที่่  15  เวลา 13.30-17.30 น.                                   
     กลุ่ม  102 วันอังคาร ห้อง 223





    Knowledge (ความรู้)

             - เพื่อนนำเสนอวิจัย และโทรทัศน์ครู

    เลขที่ 15 นำเสนอวิจัย

    • ชื่อวิจัย : ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
    • ผู้วิจัย : สำรวย สุขชัย
    • มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ






    เลขที่ 24 นำเสนอวิจัย


    • ชื่อวิจัย : การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อ
      ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
    • ผู้วิจัย : ชยุดา พยุงวงษ์
    • มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

             การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก
    ปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ
    เด็กปฐมวัยชาย – หญิงอายุระหว่าง 5 – 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับสลากห้องเรียนและนักเรียน จำนวน 20 คน ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ จำนวน 32 ครั้ง วันละ 30 –45 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย และแบบทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย




    สรุปผลวิจัย 

    1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมในรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีคะเเนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น
    2. ทักษะทางกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายด้านแตกต่างจากการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ




    ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรม












    เลขที่ 25 นำเสนอโทรทัศน์ครู 
    • เรื่อง : สอนปฐมวัยด้วยธรรมชาติผสานวิถีพุทธ 
    • ตอนที่ 4 : นวัตกรรมมาทาลโปรแกรม 
    • โดย : คุณครูชลธิชา หงษ์ษา โรงเรียนสยามสามไตร
              การนำหลักวิถีธรรมชาติประสานวิถีพุทธนำลงสู่ห้องเรียนของคุณครูชลธิชา ผ่านนวัตกรรมการสอนที่ชื่อว่า "มาทาลโปรแกรม" ซึ่งเป็นนวัตกรรมการสอนวิทยาศาสตร์แบบธรรมชาติ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรมการสร้างชุมชนในฝัน กิจกรรมนี้เด็กจะได้ทั้งทักษะการสังเกต และการเชื่อมโยงความรู้กับสิ่งที่อยู่รอบตัว จนสามารถสังเคราะห์ความรู้สร้างสรรค์ออกมาเป็นชิ้นงานของตนเองได้ในที่สุด





    Skill (ทักษะ)

    - ทักษะการฟัง
    - ทักษะการตอบคำถาม
    - ทักษะการคิดวิเคราะห์
    - ทักษะการนำไปใช้



    Application ( การประยุกต์ใช้)

            นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กได้มีการเรียนรู้ที่เข้าใจง่าย และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง



    Technical Education (เทคนิคการสอน)

    - เชื่อมโยงหลักการทางวิทยาศาสตร์
    - สรุปและยกตัวอย่างให้เข้าใจมากขึ้น



    Evaluation (การประเมิน)

    - Self : ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพ ร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ

    - Friend :  นำเสอนงานได้ดี ตั้งใจเรียน และช่วยกันตอบคำถาม

    - Teacher :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  มีเสียงสูง ต่ำ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้คำแนะนำที่ดีแก่นักศึกษา