วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

Lesson 4




บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood ) 
อาจารย์ผู้สอน  อ.จินตนา  สุขสำราญ                           
ประจำวันที่  8 กันยายน  2558
เรียนครั้งที่่ 4   เวลา 13.30-17.30 น.                                   
กลุ่ม  102 วันอังคาร ห้อง 223



Knowledge ( ความรู้ ) 
กิจกรรม : ประดิษฐ์ของเล่นจากกระดาษให้เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์

     อาจารย์แจกกระดาษ 1 แผ่น ให้นักศึกษาประดิษฐ์ของเล่นเป็นอะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ จากนั้นให้นำเสนอเป็นรายบุคคล

- จากกระดาษ 1 แผ่น นำมาทำของเล่นโดยการพับเป็นรูปนก ดังภาพ





- เมื่อพับเสร็จเราจะเห็นได้ว่าตรงส่วนของตัวนกยังคงแบนๆลีบๆอยู่





- เมื่อเราเป่าลมเข้าไปในตรงช่องจะทำตัวส่วนลำตัวของนกพองขึ้น




สรุป
     
        จากกิจกรรมดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ของเล่นดังกล่าวจะทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ในเรื่องของ " ลม " คือ เด็กก็จะใช้ปากเป่าตรงส่วนที่เป็นลำตัวของนก ทำให้ลำตัวนกพองตัวขึ้น การที่ลำตัวนกพองตัวขึ้นก็เนื่องจากมีอากาศเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในกระดาษและอากาศต้องการที่อยู่จึงทำให้กระดาษพองตัวขึ้น


*เกร็ดความรู้*

- ลม (wind) หมายถึง อากาศที่เคลื่อนที่
- อากาศ (air) หมายถึง สิ่งทีีมองไม่เห็นแต่ มีตัวตน และต้องการที่อยู่ ซึ่งถ้าอากาศเคลื่อนที่จะกลายเป็นลม และลมก็จะทำให้เกิดพลังงาน (energy)
- แสง (light) จะไม่สามารถผ่านวัตุได้ จึงทำให้เกิดเป็นเงา ซึ่งแสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง


ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็ก

ทฤษฏีของเพียเจต์ เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

- ขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Assimilation) หมายถึง การที่เด็กนำเอาความรู้ใหม่ เข้าไปผสมผสากลมกลืนกับครวามรู้เดิมที่มีอยู่
- การจัดประขยายโครงสร้าง (Accommodation)  หมายถึง การนำความรู้ใหม่ที่ได้รับไปปรับปรุงความคิดให็เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม

John Dewy ได้กล่าวว่าเด็กจะเรียนรู้โดยการลงมือทำ หรือ  "
Learning by Doing "



Skill
(ทักษะ)

- ทักษะการตอบคำถาม
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการนำเสนองาน
- ทักษะการใช้ความคิดรวบยอด



Application ( การประยุกต์ใช้)

        นำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นหลักการในการประดิษฐ์ของเล่นในหน่วยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและใช้ในการสอนแบบบูรณาการเพื่อให้เด็กได้รับความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์และด้านอื่นๆ



Technical Education (เทคนิคการสอน)

- เทคนิคการใช้คำถาม เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด

- เทคนิค เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
- สอนเริ่มจากหลักการและนำมาสรุป


Evaluation (การประเมิน)

- Self :
ตั้งใจเรียน มองเห็นภาพรวมในเนื้อหาชัดเจนขึ้น ปฏิบัติตามคำสั่งของอาจารย์

-
Friend :  ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม มีการช่วยเหลือกันระหว่างเรียน

-
Teacher : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ บรรยายเนื้อหาให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น มีการใช้น้ำเสียงที่สูงต่ำกระตุ้นนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น